ไฟเบอร์กลาสคืออะไร ทำไมไฟเบอร์กลาสถึงเป็นที่นิยม?

Last updated: 9 ก.ย. 2565  |  22011 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไฟเบอร์กลาสคืออะไร ทำไมไฟเบอร์กลาสถึงเป็นที่นิยม?

ทำไมไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) ถึงเป็นที่นิยม

ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) ชื่อของวัสดุที่คุ้นหูของใครหลาย ๆ คน แต่ละคนก็จะเคยเห็นไฟเบอร์กลาสในรูปแบบที่แตกต่างกันหลายรูปแบบหลายรูปทรง แต่ความจริงแล้วไฟเบอร์กลาสคืออะไรกันแน่ มินิ โกลด์ จะมาอธิบายให้คุณได้รู้จักวัสดุนี้กัน ว่า ไฟเบอร์กลาส คือ อะไร
.
ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) หรือ เส้นใยแก้ว เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นจากแก้วเป็นหลัก มีการผสมด้วยหินปูน หินฟันม้า เติมกรดบอริกและสารเติมแต่งอื่นๆ ถูกหลอมเหลวภายในเตาหลอมที่อุณหภูมิสูงมากถึง 1,370 องศาเซลเซียส และถูกยืดผ่านรูขนาดเล็กเพื่อให้เกิดเป็นเส้นใย มีหลากหลายขนาดและถูกนำไปใช้ใน อุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งมีรูปแบบในการนำไปใช้แตกต่างกัน
.
ไฟเบอร์กลาส กับ เรซิ่น

ไฟเบอร์กลาสถูกนำมาใช้เป็นวัสดุเสริมแรงและโครงสร้างให้กับพอลิเมอร์หลายประเภทและพลาสติกเรซิ่น สามารถนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น หลังคารถกระบะ อ่างอาบน้ำ เรือ ชิ้นส่วนเครื่องบิน ถังน้ำขนาดใหญ่ รวมไปถึงห้องน้ำสำเร็จรูป
.
คุณสมบัติพิเศษของไฟเบอร์กลาส

1.Corrosion Resistance : ไม่เป็นสนิม และทนต่อการกัดกร่อนได้สูง

2.Temperature Resistance : ทนความร้อนดีมาก สามารถทนอุณหภูมิตั้งแต่ -30 ถึง +120 ขึ้นอยู่กับชนิดของเรซิ่นที่นำมาใช้กับเส้นใย

3.Light Weight : น้ำหนักเบา ด้วยน้ำหนักที่เบากว่าเหล็กถึง 4 เท่า ทำให้สะดวกต่อการขนย้าย ประกอบและติดตั้ง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

4.Flextural Strength : แข็งแรงให้ตัวได้ ป้องกันการรั่วซึมหรือร้าว

5.Long-lasting : ไม่เน่าเปื่อยหรือผุกร่อนทนทุกสภาวะสิ่งแวดล้อมคงรูปเดิมได้ดี ไม่มีการหดตัว

6.Low Coefficient of Friction : ผิวเรียบเนียนทำให้แรงเสียดทานต่ำ

7.Insulation : เป็นฉนวนไฟฟ้าและไม่นำความร้อน

Repair : ในกรณีสุดวิสัย เมื่อเกิดการชำรุดเสียหายสามารถซ่อมได้

8.Engineering Design : การออกแบบและคำนวณตามมาตรฐานของ ASTM ,JIS ,BS และDIN

9.UV-Resistance and Grossly : ทนต่อแสงแดดและแสงยูวี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้